เปลี่ยนภาษา :

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

History

Knowledge

Advocacy

Legal & Law

Get Involved

การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
และผลักดันเชิงนโยบาย

 

มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีแห่งประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในเรื่องการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยมาเป็นเวลานานเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 เป็นต้นมาโดยประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกับกองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานอนามัยการเจริญพันธุ์ระดับประเทศ, วิทยาลัยสูตินารีแพทย์ในพระบรมราชูปถัมภ์, และแพทยสภา ในการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัยและสิทธิการเจริญพันธุ์ของสตรีในประเทศไทย

 

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 เป็นต้นกระทั่งถึงปัจจุบัน มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีแห่งประเทศไทย และองค์การภาคีเหล่านี้มีความมุ่งมั่นในการลดการแท้งที่ไม่ปลอดภัยทั่วทั้งประเทศ ซึ่งความสำเร็จที่ปรากฏชัดเจนที่สุดก็คือการผลักดันการแก้ไขข้อบังคับแพทยสภาเมื่อปีพ.ศ. 2548 ที่อนุญาตให้การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ คลอบคลุมประเด็นสุขภาพจิตของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมหรือเด็กในครรภ์มีปัญหาด้วย ซึ่งข้อบังคับใหม่ของแพทยสภาว่าด้วยการยุติการตั้งครรภ์น ี้จะทำให้เงื่อนไขการขอยุติการตั้งครรภ์ของผู้หญิงครอบคลุมได้กว้างขึ้น และข้อบังคับนี้ได้ประกาศอย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2548

 

กิจกรรมด้านอื่นๆที่มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีแห่งประเทศไทย และองค์การภาคีได้ร่วมกันผลักดันในเชิงนโยบายมีดังต่อไปนี้

  1. ประชุมกับองค์การอาหารและยาเพื่อหาทางออกในการยกเลิกข้อห้ามและขอให้มีการบรรจุยา มีสโซโพรสโทล (Misoprostol) ในบัญชียาหลักของทางราชการ ซึ่งจะทำให้ทางโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั้งหลายสามารถใช้ยานี้ได้ในการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ จากการร่วมประชุมในครั้งน ี้ประธานและผู้จัดการอาวุโสโครงการของมูลนิธิฯได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในการผลักดัน เรื่องการเข้าถึงตัวยาไมโซโพรสโทล(Misoprostol) เพื่อใช้ในงานด้านสูตินารีแพทย์ รวมทั้งการผลักดันการจดทะเบียนยาตัวอื่นในประเทศไทยด้วยเช่น ยาไมเฟ็บพริสโทน (Mifepristone) ซึ่งก็มีความจำเป็นในงานด้านสูตินารีแพทย์เช่นกัน
  2. จัดประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อชี้แจงการบังคับใช้กฎหมายการทำแท้งและกฎข้อบังคับใหม่ของแพทยสภาว่าด้วยการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่าและจะได้มีการสั่งการในระดับล่างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าการยุติการตั้งครรภ์ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยแพทยสภา ถือว่าทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายและตำรวจไม่ควรจะจับกุมแพทย์ที่ดำเนินการในกิจกรรมดังกล่าว
  3. จัดแถลงข่าวกับนักข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์การแท้งที่ไม่ปลอดภัยและผลกระทบที่ตามมา และได้ชี้แจงเรื่องการแก้ไขข้อบังคับของแพทยสภาว่าด้วยการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ รวมทั้งอธิบายความจำเป็นในการเข้าถึงบริการการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงให้นักข่าวได้ทราบ เพื่อที่จะได้ช่วยสนับสนุนให้ผู้หญิงทั้งหลายได้เข้าถึงบริการการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยมากขึ้น
  4. พบปะและประชุมกับเครือข่ายองค์กรเอกชนทำงานด้ายผู้หญิงเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และรับรู้ปัญหาเรื่องการตั้งท้องที่ไม่พร้อม ปัญหาการเข้าถึงบริการของผู้หญิงเหล่านี้ พร้อมรับฟังข้อเสนอว่าผู้หญิงเหล่านี้ต้องการบริการแบบไหนเพื่อนำข้อเสนอแนะไปเสนอแก่รัฐบาลในการปรับปรุงต่อไป
  5. ทำงานร่วมกับกรมอนามัยในการผลักดันการผ่านร่างกฎหมายอนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งจะมีผลอย่างมากในการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีในประเทศไทย ตอนนี้กรมอนามัยกำลังเตรียมร่าง เพื่อเสนอให้ผ่านเป็นกฎบัญญัติของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งจะทำได้ง่ายกว่าการผลักดันให้ผ่านเป็นกฎหมายมหาชน
  6. จัดสัมมนาประจำปีในระดับนโยบายแห่งชาติในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดเชียงราย โดยจัดร่วมกับกรมอนามัย ราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์ในพระราชูปถัมภ์ แพทยสภา องค์กรพัฒนาประชากรแห่งประเทศไทย (PDA) และองค์กรอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้นำระดับสูง เช่น ประธานแพทยสภาและสมาคมแพทย์แห่งประเทศไทย ประธานราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์ ประธานมูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขเช่นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการ อัยการ ทนาย รวมทั้งคุณมีชัย

วีระ ไวทยะ สมาชิกวุฒิสภาในขณะนั้น จากการประชุมครั้งนี้ผู้อำนวยการกรมอนามัยได้ทำหนังสือแจ้งให้กับโรงพยาบาลและสถานบริการ ภายได้การดูแลของกรมอนามัยให้ปฎิบัติตามนโยบายของกรมอนามัย ในการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยและการให้การดูแลครั้งการยุติการตั้งครรภ์อย่างมีมาตรฐานด้วย

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหารระดับสูงเกี่ยวกับการแท้งที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทย

 

Lastest News

 

ข่าวสาร กิจกรรม

 

การประชุมนานาชาติครั้งที่ 2

เรื่องการแท้งที่ไม่ปลอดภัย วันที่ 22-25 มกราคม 2556
สถานที่กรุงเทพมหานคร

จัดอบรมแพทย์และพยาบาล

เรื่องการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัยและการใช้ Manual Vacuum Aspiration (MVA) เดือน กุมภาพันธ์ 2554

การประชุมนานาชาติครั้งที่ 1

เรื่องสุขภาพผู้หญิงและการแท้งที่ไม่ปลอดภัย วันที่ 20-23 มกราคม 2553

 
 
 
 

Women’s Health and Reproductive Rights Foundation of Thailand  (WHRRF)
Tel :
(+66) 2575-0500-1   |   Fax :(+66) 2575-0501  |   Email : info@womenhealth.or.th
Address :48/38 The Paradise, Chaengwattana Road, Soi 14 Bangkok 10210, Thailand
Copyright © 2010 All Rights Reserved.